HTAC 2 – แผ่นช่วยปรับตั้งเสียงชุด Home Theater version 2

อ่านเพิ่มเติม

แผ่น HTAC ปรับเสียง 5.1

สวัสดีครับ มิตรรักแฟนเพลง

หายไปนาน ซุ่มทำการบ้านอยู่ครับ จนตอนนี้พร้อมส่งการบ้านแล้วครับ นั่นคือแผ่นทดสอบระบบเสียงแบบ 5.1 ผมตั้งชื่อไว้ซะเท่ว่าแผ่น HTAC (Home theater audio calibration disc)

จัดหนักครับ คราวนี้

ไม่ต้องไปหา load จากที่ไหนเพราะไม่มีที่ให้โหลด เพราะผมทำเองล้วน ๆ แจกฟรี เหมือนเดิมครับ

โดยรวม ๆ แผ่นนี้จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ สำหรับการเซ็ทเครื่อง A/V ของท่านให้แสดงศักยภาพ ออกมาให้หมดดังนี้

อ่านเพิ่มเติม

การวัด และ การรวมความดังเสียง ทำเองก็ได้ง่ายจัง

สวัสดีครับ คราวนี้เราลองมาคุยกันเรื่องระดับความดัง และการรวมความดังของเสียงกันซักนิดครับ

จากบทความก่อนเราคุยกันถึงเรื่องความดังที่ระดับต่าง ๆ ไปจนถึงระดับที่เริ่มเป็นอัตรายต่อเราหากอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน นาน คราวนี้เราลองมาคุยกันเรื่องการรวมความดังกันซักนิด

ก่อนที่เราจะนำความดังมารวมกัน เราคงต้องหาวิธีวัดระดับความดังกันก่อนครับ โดยทั่วไปเราจะใช้เครื่องวัดระดับความดังกัน โดยเครื่องมือวัดประเภทนี้จะเรียกว่า Sound pressure level (SPL) ครับ หน้าตาก็ประมาณนี้  ระดับราคาก็มีตั้งแต่ 3000 บาท ไปจนถึงหลักหมื่นขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของแบรนด์

อ่านเพิ่มเติม

ความดัง (เดซิเบล)

เรื่องแรกที่อยากพูดถึงคือเรื่องหน่วยวัดระดับความดันของเสียงครับ (Sound pressure Level) เนื่องจากเสียงเป็นพลังงานในรูปแบบหนึ่ง  แต่เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ เรามักจะเรียกกันว่า “ระดับความดัง(ของเสียง)” แทนครับ อ่านเพิ่มเติม

ลองเอา โทรศัพท์ มาวัดเสียงชุดโฮมกันไหม ?

สวัสดีครับ ตามสัญญาครับ…. วันนี้เราจะเอา iPhone หรือสารพัด ios มาวัดเสียง setup ชุดโฮมเธียร์เตอร์ ของเรากันครับ

ฮั่นแน่ …..ท่านเทพทั้งหลายอย่าพึ่งโวยวายนะครับ ว่าค่ามันเชื่อถือไม่ได้ เพี้ยนเยอะ ฯลฯ

ข้าน้อยเข้าใจ และเป็นอย่างนั้นจริงครับ  แต่สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากจะลองมาปรับชุดของตัวเองดูโดยยังไม่มีเครื่องวัด SPL (ซึ่งราคาก็พอสมควรนะ) ลองอ่านดูบทความนี้ อาจจะอมยิ้มก็ได้ โดยเราจะทำกันแบบย้อนรอย  ภาษาประกิดเรียก reverse engineer ครับ วิศวกรรมย้อนรอย ว่าไปนั่นเลย อิ อิ…

ว่าแล้วก็ไปหยิบเครื่อง i…. ท่านมาได้เลยแล้วมาเริ่มพร้อม ๆกันเลยครับ
ลำดับแรกไปที่ appstore หาของฟรีกันก่อนครับ อ่านเพิ่มเติม

4.การอ่านค่า acoustic ของวัสดุชนิดต่าง ๆ ที่จะมาทำห้อง HT

การอ่านค่า acoustic ของวัสดุชนิดต่าง ๆ

ฮืม… หลังจากที่เราพูดคุยกันพอหอมปากหอมคอ สำหรับการทำผนังห้อง HT กันไประดับนึงแล้วในตอนนี้ผมอยากพูดถึงเรื่องพื้นฐานที่สำคัญซักเรื่อง (อันที่จริงเรื่องนี้น่าจะพูดก่อนในตอนแรก ๆ ด้วยซ้ำ) นั่นคือการอ่านค่าทาง acoustic ของวัสดุที่เราหมายตาจะเอามาใช้เป็นผนัง ฝ้า พื้น ในห้อง HTของเรานั่นเอง เพราะค่าเหล่านี้จะเป็นตัวบอกว่ามันทำงานได้ดี เพียงใด รวมไปถึงค่าคลาดเคลื่อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น(เป็นปรกติ) หลังจากเอาไปใช้งานจริงแล้ว

อ่านเพิ่มเติม