การวัด และ การรวมความดังเสียง ทำเองก็ได้ง่ายจัง

สวัสดีครับ คราวนี้เราลองมาคุยกันเรื่องระดับความดัง และการรวมความดังของเสียงกันซักนิดครับ

จากบทความก่อนเราคุยกันถึงเรื่องความดังที่ระดับต่าง ๆ ไปจนถึงระดับที่เริ่มเป็นอัตรายต่อเราหากอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน นาน คราวนี้เราลองมาคุยกันเรื่องการรวมความดังกันซักนิด

ก่อนที่เราจะนำความดังมารวมกัน เราคงต้องหาวิธีวัดระดับความดังกันก่อนครับ โดยทั่วไปเราจะใช้เครื่องวัดระดับความดังกัน โดยเครื่องมือวัดประเภทนี้จะเรียกว่า Sound pressure level (SPL) ครับ หน้าตาก็ประมาณนี้  ระดับราคาก็มีตั้งแต่ 3000 บาท ไปจนถึงหลักหมื่นขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของแบรนด์

โดยกลุ่มเครื่องวัดในกลุ่มนี้ก็ให้ค่าที่เชื่อถือได้ระดับใช้งานทั่ว ๆ ไปครับ ค่า error ของแต่ละเครื่องมีไม่มาก โดยจะอ่านค่าหลัก ๆ ได้ คือ dB(A) และ dB(C) ค่าที่วงเล็บคือค่าหน่วงน้ำหนักเทียบกับอัตราได้ยินของหูมนุษย์เป็นหลัก โดยทั่วไปจะใช้ค่า (A) weight สำหับงานวัดเสียงทั่ว ไปซึ่งมีการปรับลดระดับความดันของเสียงต่ำลงมาเพื่อชดเชยกับความไวของหูมนุษย์  แต่ถ้าเราจะเอามาใช้ปรับเสียงดนตรี หรือ เสียงจากชุด home theater หน่วย (A) อาจไม่เหมาะครับ เพราะมันมีการชดเชยเสียงต่ำลงไปพอสมควร ในที่นี้แนะนำให้ใช้หน่วย (C) ครับเพราะมีการชดเชยน้อยลงไปพอสมควร

กระดับนึงที่ใช้ในห้องปฎิบัติการซึ่งต้องการความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น รวมถึงค่าความละเอียดที่มากขึ้นก็จะมีหน้าตาประมาณนี้ครับ

โดยเครื่องวัดกลุ่มนี้จะสามารถแยกความดันของเสียงออกมาตามย่านความถี่เลย (ขณะที่เครื่องราคาประหยัดจะทำไม่ได้ วัดได้เพียงความดังโดยรวมเท่านั้น)  ข้อดีคือเครื่องกลุ่มวัดละเอียดนี้สามารถบอกเราได้หมดว่าเสียงที่ความถี่เท่าไหร่ มีระดับความดันเท่าไหร่ แจ๋วมาก หากใครจะหามาไว้ใช้ก็เตรียมตังค์ไว้ประมาณ รถ Honda Jazz ป้ายแดงคันนึงครับ อิ อิ

อีกแบบนึงคือแบบตั้งโต้ะ ใช้กับงานห้อง lab เป็นส่วนใหญ่ครับไม่เหมาะกับ ไฮโซแบบเราหรอก

อืม….. ดูท่าทางแต่ละแบบจะไกลตัวเราจังเลย จะให้ไปหามาใช้ก็ใช่ที่ เอายังงี้ครับยังมีทางเลือกอื่นเสมอ นั่นคือใช้พวก software ครับ ก็มีให้ Load มาใช้ทั้ง Android , iOS, Windows ตามสะดวกเลยครับ แต่ก็ต้องยอมรับกับค่า error ทั้งทาง hardware ของท่านเอง และ ทางข้อจำกัดของ software ของแต่ละเจ้าด้วย (ลองอ่านบทความเรื่อง “ลองเอาโทรศัพท์มาวัดเสียงชุดโฮมกันไหม” พอเป็น idea ครับ)

เอาละครับที่นี้เราก็สามารถรู้แล้วว่าระดับเสียงที่เราสนใจมันดังเท่าไหร่  ที่นี้เราจะลองเอาเสียงจาก 2 แหล่งกำเนิดมารวกันดูว่ามันจะดังรวมเท่าไหร่

อ้าว…ก็ผมมีเครื่องวัดแล้วก็เอามาวัดเลยดีกว่าไหม ?

ถ้าได้ก็ดีครับ แต่ในกรณีที่ท่านยังไม่มีแหล่งกำเนิดเสียงจริง ๆ ให้วัดมันจะพอทำนายกันได้ใกล้เคียงไงครับ ยกตัวอย่างเช่น ท่านกำลังจะทำห้อง โฮมเธียร์เตอร์ และจะต้องติดแอร์ มีทางเลือก 2 ทาง

ทางเลือกแรก ใช้แอร์เล็ก 2 ตัว แต่ละตัวมีระดับความดัง 35 dB(A) – จากข้อมูลผู้ผลิตแอร์

ทางเลือกที่สอง ใช้แอร์ใหญ่ 1 ตัว มีระดับความดัง 42 dB(A) – จากข้อมูลผู้ผลิตแอร์

เส้นชัยของท่านคือเลือกแอร์ที่จะทำให้ประหยัด และ เงียบที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ท่านจะเลือกแบบไหน ?   เอาเครื่องมือไปวัดก็ไม่ได้ ฮ่า ฮ่า……

ใครเลือกแบบแรก ยกมือขึ้น……………. ok ครับ เอามือลงได้แล้วเดี๋ยวเมื่อย

หลักการรวมระดับความดันของเสียงจะเป็นแบบ logarithm ครับไม่สามารถนำมารวมกันตรง ๆ ได้ โดยทั่วไปการรวมระดับความดังของเสียงจะใช้หลักการที่แปลงมาให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้

เช่นจากตัวอย่างด้านบนเรื่องแอร์  ตัวอย่างแรกแอร์เล็ก 2 ตัว กำเนิดเสียงแตกต่างกันคือ 0 (มาจาก 35-35)

ดังนั้นหากเปิดให้แอร์ทำงานพร้อมกันระดับความดังรวมคือ 38 dB(A) ได้มาจากการบวก 3 จากระดับเสียงที่ดังสุด

หากท่านที่จะเลือกแอร์ตัวใหญ่ตัวเดียวซึ่งดัง 42 dB(A) จะดังกว่าแอร์เล็ก 2 ตัวทันทีครับ…….

อ้าวแล้วหากมีหลาย ๆ แหล่งกำเนิดเสียงล่ะจะทำอย่างไร?

ก็ทำเหมือนเดิมแหละครับ แต่จับมาคิดเป็น คู่ ๆ ตัวไหนก่อนก็ได้

ยกตัวอย่างเช่นจะติดตั้งลำโพง 5 ตัว ในระบบ surround แต่ละตัวเปิดดังที่ระดับอ้างอิง 75 dB  ในห้องดูหนัง  ความดังรวมที่เกิดในห้องจะเป็น เท่าไหร่ ?

ทำแบบ นี้ครับ

นั่นคือหากท่านเปิดใช้งาน AV ของท่านพร้อมกัน 5 ตัวที่ระดับเสียงอ้างอิง 75 dB ระดับเสียงโดยรวมจะดัง 82 dB ครับ

Ok ครับก็ว่ากันพอหอมปากหอมคอมีสาระบ้าง นิด ๆ หน่อย ๆ และหวังว่าให้ท่านนำไปประยุกต์ใช้กับห้อง home theater ของท่านได้บ้างนะครับ

เจอกันใหม่คราวหน้าครับ

Spybug

ใส่ความเห็น